อาชีพออกแบบเครื่องประดับ ดีไหม? ทำเงินหรือไม่?

ช่องทางทำเงินวันนี้ นายอาชีพจะมาแนะนำอาชีพที่น่าสนใจ...นั่นก็คือ "นักออกแบบเครื่องประดับ" ซึ่งอาชีพนี้นอกจากจะยึดเป็นงานประจำแล้ว ก็ยังสามารถทำเป็นอาชีพเสริม อาชีพอิสระ เป็นงานที่ทำที่บ้าน หรือที่ไหนก็ได้ แถมรายได้ดีอีกด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการยึดอาชีพออกแบบเครื่องประดับ สี่งสำคัญที่สุด ต้องมีใจรัก มีจิตนาการ มีแรงบันดาลใจและต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยครับ บางคนไม่ชอบงานด้านการออกแบบเลย


นายอาชีพขอแนะนำว่าอย่ามาทำงานด้านนี้เลยครับเสียเวลาเปล่าๆ เพราะงานด้านการออกแบบ ต้องใช้สมาธิในการสร้างสรรค์ผลงานและต้องมีความอดทนสูงพอสมควรครับ

อยากเป็นนักออกแบบเครื่องประดับต้องทำอย่างไร?
บางคนค้นพบตัวเองเร็วครับ จึงมุ่งเรียนในหลักสูตรปริญญาตรี เช่น สาขาการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี   สาขาวิทยาศาสตร์ - วัสดุศาสตร์ อัญมณี และเครื่องประดับ หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าดีครับเพราะพื้นฐานแน่นปึก บางคนเรียนๆอยู่ ก็มีบริษัทออกแบบเครื่องประดับมาจองตัวถึงที่ก็มีถมไปครับ

แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนจบทางด้านการออกแบบเครื่องประดับมาโดยตรง ก็ไม่ต้องเสียใจครับ ทุกวันนี้มีสถานที่เรียนฝึกอาชีพมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เปิดสอนวิชาชีพด้านนี้ เนื้อหาสาระ เค้าก็จะสอนให้นำวัสดุต่างๆ มาใช้ในการออกแบบ เช่น อัญมณี คริสตัล ไม้ ผ้า กะลา ดินเผา ลูกปัด โลหะ อโลหะสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น รวมไปถึงการใช้เครื่องไม้เครื่องมือและวิธีการออกแบบครับ

ช่องทางรายได้
จะเห็นได้ว่ารายได้จากการยึดอาชีพนี้ก็มีหลายทางครับ เช่น 
เป็นพนักงานบริษัท ยึดเป็นงานประจำกินเงินเดือน หรือทำเป็นธุรกิจส่วนตัว ทำเป็นอาชีพเสริม อาชีพอิสระ ออกแบบเอง ผลิตเอง หาตลาดเอง ขายเอง รวยเอง 

โอกาสทางด้านธุรกิจ
การออกแบบเครื่องประดับ ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจทำเงินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะยุคสมัยไหน แฟชั่นยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ควบคู่กับสังคมมาตลอด ดังนั้นตลาดเครื่องประดับยังไปได้อีกไกลทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบเครื่องประดับจึงเป็นงานที่ยั่งยืนสำหรับผู้ที่มีความสามารถในด้านนี้แต่สิ่งสำคัญนักออกแบบจะต้องไม่หยุดคิดและหยุดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และต้องตามกระแสสังคมและโลกแฟชั่นให้ทันด้วยครับ

ผู้เขียน: นายอาชีพ
Photo by: gemteck1 on flickr

ธุรกิจทำเงิน เติมเงินมือถือออนไลน์ อาชีพเสริมที่น่าสนใจ

เติมเงินออนไลน์ อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
สวัสดีครับเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน หลังจากได้หยุดยาวกันไปแล้วหวังว่าคงได้พักผ่อนกันเต็มที่นะครับ วันนี้นายอาชีพจะมาแนะนำช่องทางทำเงินอีกเช่นเคยครับ อาชีพเสริมที่จะหยิบยกมาพูดคุยในวันนี้ นายอาชีพจะเน้นงานที่สามารถทำควบคู่กับงานประจำได้ครับ นั่นก็คือการเป็นตัวแทนเต็มเงินมือถือ
ออนไลน์ให้กับค่ายต่างๆครับ อันได้แก่ 1-2call , Dtac , Truemove H

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ต่างก็มีมือถือกันทั้งนั้นครับ ใครไม่ใช้มือถือ ถือว่าเป็นเรื่องแปลกพอสมควร ในเมื่อมีการใช้งานมือถือ ไม่ว่าจะเป็นการโทรออก การใช้อินเตอร์เน็ต ท้ายที่สุดก็ย่อมมีรายจ่ายตามมา รายจ่ายตรงนี้แหละครับที่เป็นขุมเงินขุมทองของตัวแทนเติมเงินมือถือออนไลน์ ซึ่งตัวแทนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ตามที่บริษัทนั้นๆกำหนด ส่วนในเรื่องของส่วนต่าง ก็แล้วแต่ตัวแทนจะเรียกเก็บครับ เรียกได้ว่ามีรายได้เข้ามา 2 ทางเลยทีเดียว! ถือได้ว่าธุรกิจเติมเงินมือถือในยุคนี้ เป็นธุรกิจทำเงินที่สร้างรายได้ให้เราไม่น้อยเลยทีเดียว

อาชีพเสริมในการเป็นตัวแทนเติมเงินมือถือ เหมาะกับใคร?
  • ร้านค้าทั่วไปที่มีหน้าร้าน ถ้านำระบบเติมเงินออนไลน์เข้ามาเสริมจะทำให้สินค้าในร้านมีความหลากหลาย และผู้บริโภคก็จะมีตัวเลือกมากขึ้นครับ
  • พนักงานบริษัท ยิ่งถ้าอยู่ในองค์กรใหญ่ๆ เราจะมีลูกค้าประจำในองค์กรเลยนะครับ  
  • นักเรียนนักศึกษา เป็นที่รู้ๆกันว่าเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ ใช้โทรศัพท์กันเก่งแค่ไหน เต็มเงินแทบทุกวัน
  • ผู้ที่อยากมีอาชีพอิสระ ตั้งโต๊ะเติมเงินมือถือออนไลน์แบบจริงจังกันไปเลยครับ ทำได้ทุกสถานที่ ยิ่งได้ทำเลดีๆมีคนเยอะ รอบรองว่าได้เงินเป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน
สรุป อาชีพเสริมเติมเงินมือถือ
การเป็นตัวแทนเติมเงินมือถือออนไลน์ ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดครับ เพราะทางค่ายโทรศัพท์ 1-2call , Dtac , Truemove H  ต่างก็เปิดรับตัวแทนอยู่ตลอด เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าของเค้าอยู่แล้ว สำหรับผู้ที่สนใจที่อยากจะทำอาชีพนี้เป็นอาชีพเสริมหรือเล็งเห็นแล้วว่าธุรกิจนี้สามารถทำเงินได้ ก็สามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมการสมัครการเป็นตัวแทนเติมเงินมือถือในเว็บไซต์ของค่ายโทรศัพท์ที่กล่าวมาข้างต้นกันได้นะครับ แล้วพบกันใหม่กับ Blog อาชีพเสริม อาชีพทำเงิน กับผมนายอาชีพ ยินดีเป็นสื่อกลางให้เพื่อนๆได้พบกับอาชีพอิสระในฝันครับ

วิธีหารายได้เสริม กับแนวทางการขายบทความทางอินเตอร์เน็ต (ภาค 2)

วิธีหาเงินจากการเขียนบทความขาย
จากบทความที่แล้วเรื่อง วิธีหารายได้เสริมจากการเขียนบทความขายบนบนอินเตอร์เน็ต ผู้อ่านคงได้รู้ถึงวิธีการเขียนบทความและการวางโครงสร้างรวมไปถึงแนวทางในการเขียนบทความแต่ละประเภทกันแล้วใช่ไหมครับ เนื้อหาภาคนี้ จึงเป็นภาคต่อว่าด้วยเรื่องช่องทางการเปลี่ยนงานเขียนของเราให้เป็นรายได้และผลักดันผลงานของเราให้เป็นธุรกิจทำเงินที่ยั่งยืนครับ

2 ขั้นตอนการหารายได้เสริมจากการเขียนบทความ

1. สร้างผลงานออกมาจากสิ่งที่ชอบและถนัด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของนักขียนมือใหม่ทุกคน เพราะการเขียนบทความจากความชอบ ความหลงไหล ความถนัด จะเป็นงานที่ออกมาอย่างธรรมชาติและสมบูรณ์ที่สุดโดยถูกกลั่นกรองและตกผลึกจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียนโดยตรง ขั้นตอนนี้ควรหมั่นฝึกเขียนทุกวันให้เกิดความชำนาญในการเขียนและการใช้ภาษา อย่างที่บอกไปครับ การเขียนบทความควรเขียนด้วยความรักและความถนัด โดยความถนัดของแต่ละบุคคลก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะมีความรู้ในเชิงลึกในเรื่องต่างๆ เช่น

- การลงทุนในหลักตลาดทรัพย์ 
- วิธีการค้าการขาย 
- การเกษตร 
- ยานยนต์/พาหนะ 
- การใช้ภาษาต่างประเทศ 
- วิชาการ ความรู้

เมื่องานเขียนที่ถูกสร้างออกมาอย่างสดใหม่ตามโครงสร้างอย่างถูกต้อง ก็ถึงวิธีการปล่อยของครับ

2. หาช่องทางในการสร้างรายได้จากการขายบทความ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นายอาชีพเรียกว่าการปล่อยของครับ ถึงขั้นนี้นักเขียนอิสระอย่างเราๆเริ่มมีทักษะและความชำนาญทางด้านการเขียนพอสมควร คราวนี้ก็ได้เวลาหารายได้จากผลงานที่สร้างมากับมือเสียทีครับ

ช่องทางในการหารายได้จากการเขียนบทความ หลักๆที่เป็นที่นิยม มี 2 ช่องทาง มีดังนี้ครับ

- การรับจ้างเขียนบทความ - 
โดยหลังจากเราทำการโปรโมทหรือประกาศตัวเองตามเว็บไซต์ต่างๆให้โลกได้รับว่าเรารับจ้างเขียนบทความ จากนั้นไม่นานก็จะมีลูกค้าติดต่อเราครับ ลูกค้าโดยส่วนใหญ่จะมีอาชีพเป็นเว็บมาสเตอร์ที่ดูแลเว็บไซต์ต่างๆที่ไม่มีเวลาอัพเดตข้อมูลในเว็บไซต์ของตนเอง ลองคิดดูนะครับว่าในประเทศไทยและต่างประเทศมีเว็บไซต์อยู่เป็นล้านๆเว็บไซต์ อนาคตในการหารรายได้เสริมในวงการนี้ยังอีกยาวไกลครับ ซึ่งถ้าเราเขียนงานได้ดีและส่งงานเร็ว ลูกค้ามักชื่นชมและบอกกันปากต่อปาก เมื่อลูกค้าเหนียวแน่น การเขียนบทความก็กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินครับ

ราคาในการซื้อขายบทความ
บทความภาษาไทย ก็อยู่ในเรท 400 - 500 คำ อยู่ที่ราคา 50-60 บาท โดยส่วนใหญ่ผู้เขียนมักจะรับงานเขียนบทความขั้นต่ำประมาณ 5 บทความต่อลูกค้าหนึ่งคน

บทความภาษาอังกฤษ ก็จะแพงหน่อยครับ อยู่ในเรท 400 - 500 คำ ราคาประมาณ 300 - 450 บาท นับว่าเป็นรายได้ที่ไม่เลวเลยทีเดียว

กฏเหล็กอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนควรตระหนักไว้ คืออย่ารับงานจนเกินตัว เพราะถ้าผู้เขียนส่งงานให้ลูกค้าไม่ทัน เราจะเสียลูกค้าและผลเสียจะตามมาอย่างร้ายแรง สำหรับผมมันคือ ความเสียหายทางด้านธุรกิจที่ประเมินค่ามิได้ครับ

- การรวมบทความทั้งหมดเป็นเล่มเดียวแล้วทำเป็น E-Book -
รายได้จากช่องทางนี้จะเป็นในลักษณะที่นักเขียนอิสระ เขียนผลงานออกมาเป็นหลายๆบทและนำมารวมเป็นเล่มเดียว ลักษณะบทความใน E-Book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) ส่วนใหญ่จะเป็นบทความที่มีประโยน์เฉพาะทาง สาเหตุผู้ที่ลงทุนยอมซื้อ E-Book ของเราไป ผู้ซื้อมักจะสามารถนำความรู้จาก E-Book ไปใช้ประโยน์ได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งครับ ส่วนขั้นตอนและวิธีการซื้อขายอีบุ๊ค ก็เป็นดังนี้ครับ ลูกค้าที่ต้องการจะซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) จะโอนเงินเข้าไปในบัญชีธนาคารของนักเขียนหรือจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือ Paypal  หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงจะได้สิทธิ์ เข้าไปดาวน์โหลด E-Book เป็นของตนเอง ราคาในการซื้อขายอีบุ๊คนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนรวมไปถึงความยากง่ายในการเขียน ราคาอาจจะเริ่มต้น ตั้งแต่ หลักร้อยจนถึงหลักพันต่อการดาวน์โหลดเพียงครั้งเดียว  ในประเทศสหรัฐอเมริกานักเขียนส่วนใหญ่ นิยมขาย E-Book กันมาก เพราะการขายอีบุ๊ค สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ นักเขียนออนไลน์หลายๆคนมีรายได้หลักแสนหรือหลักล้านบาทจากยอดการดาวน์โหลด E-Book ในแต่ละเดือนเลยทีเดียว ลองคิดดูครับ ในระหว่างที่นักเขียนออนไลน์เดินทางท่องเที่ยวหรือแม้แต่นอนหลับพักผ่อน ก็ยังมีผู้คนเข้าไปดาวน์โหลดอีบุ๊คของเราอยู่เรื่อยๆ ก็เท่ากับว่ามีเงินไหลเข้ามาอยู่ตลอดเวลา การขาย E-Book จึงถือเป็นธุรกิจทำเงินที่สามารถเรียกว่าเป็น Passive income เลยก็ว่าได้

ถึงตอนนี้เพื่อนๆคงพอจะมองเห็นภาพรวม ในการหารายได้เสริมจากการเขียนบทความแล้วใช่ไหมครับ ว่าแนวทางและขั้นตอนในการเริ่มต้นการเป็นนักเขียนไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย ขอแค่ให้เราฝึกฝนและลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดทักษะและความชำนาญ การหารายได้เสริมที่ทำเงินก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป งานเขียนสามารถทำที่ไหนก็ได้ครับ จะทำที่บ้าน ท่องเที่ยวไปเขียนไปก็ไม่มีใครว่า ไม่ต้องกลัวโดนเจ้านายด่า ไม่ต้องทนรถติด  เพราะเราเป็นนายตัวเองครับ แล้วพบกันใหม่ครับ กับนายอาชีพ ใน Blog ช่องทางทำเงิน อาชีพเสริมทำเงิน  วันนี้เขียนมาซะยาวเลย ต้องขอตัวพักผ่อนก่อน ขอให้ร่ำรวยเงินทองกับธุรกิจที่ทำเงินนะครับ พี่น้องชาวไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง
"วิธีหารายได้เสริม จากการเขียนบทความขายบนอินเตอร์เน็ต (ภาค 1)"

ผู้เขียน: นายอาชีพ
photo by 401(K) 2012 on flickr

วิธีหารายได้เสริม จากการเขียนบทความขายบนอินเตอร์เน็ต (ภาค 1)

อาชีพอิสระ เขียนบทความขาย
สวัสดีครับเพื่อนๆ พบกันอีกครั้งกับนายอาชีพที่ Blog ช่องทางทำเงิน อาชีพเสริมทำเงิน วันนี้นายอาชีพจะมาแนะนำช่องทางทำเงินอีกหนึ่งช่องทาง เรื่องที่จะแนะนำในวันนี้คือ การเขียนบทความเพื่อนำมาขายหรือหารายได้ในอินเตอร์เน็ตกันครับ บทความนี้น่าจะถูกใจนักเขียนอิสระหรือนักเขียนออนไลน์ที่ชอบสร้างเนื้อหาหรือเรื่องสั้นเป็นงานอดิเรกแต่ยังไม่รู้วิธีการปล่อยของหรือวิธีการขายผลงานของตัวเอง

สำหรับมือใหม่หัดเขียนอาจจะมองเป็นเรื่องยากสักหน่อยกับการเริ่มต้นเขียนบทความ และแน่นอนว่าต้องมีคำถามผุดขึ้นมากมายในหัวสมอง เช่น เขียนเรื่องอะไรดี? เขียนไปจะมีใครอ่านไหม? รายได้มาจากไหน? เขียนเสร็จแล้วจะขายได้ที่ไหน? อยากเขียนแต่ไม่มีเวลาทำไงดี? การคิดในเชิงลบแบบนี้จะส่งผลให้งานของเราไม่เกิดขึ้นสักทีนะครับ ดังนั้นถ้ามีใจรักในการเขียน ควรเริ่มต้นและลงมือทำในทันที เปรียบเหมือนกับการเริ่มหัดปั่นจักรยาน ในครั้งแรกอาจจะมีสะดุด แต่พอเป็นแล้วก็ลื่นไหลไม่มีวันลืม บทความในวันนี้นายอาชีพจึงแนะนำประเด็นหลักๆ ถึงวิธีการเขียนบทความ และวิธีหารายได้จากขายบทความของเราครับ

ก่อนอื่นนักเขียนออนไลน์มือใหม่ต้องรู้ก่อนนะครับว่า โครงสร้างในการเขียนบทความเป็นอย่างไร และบทความถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและประเภทไหนเป็นแนวทางที่เหมาะกับตัวเรา

วิธีการวางโครงสร้างในการเขียนบทความ 
เหตุผลที่ต้องวางโครงสร้างก็เพื่อเป็นกรอบและแนวทางจะได้ไม่หลงทาง นักเขียนทุกคนจงจำให้ดี
1. ชื่อเรื่อง
2. เกริ่นนำ หรือ คำนำ
3. เนื้อเรื่อง
4. สรุปส่งท้ายบทความ

บทความแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท
นักเขียนมือใหม่ต้องรู้และหาแนวทางตามความชอบและความถนัดของตนเองว่าจะเขียนแนวไหน
1. บทความประเภทแนะนำ หรือ ประเภท How to  เช่น บทความที่สอนถึงวิธีการหารายได้เสริม วิธีการปลูกพืชไร้ดิน วิธีลงทุนในหุ้น วิธีการพูดภาษาอังกฤษ อื่นๆ
2. บทความที่แสดงออกทางด้านความคิดเห็น เช่น บทความการรีวิวการใช้สินค้าต่างๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ Tablet กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ มอเตอร์ไซต์  อื่นๆ
3. บทความเชิงวิชาการที่ให้ความรู้ เช่น บทความทางด้านการศึกษา บทความทางการแพทย์ บทความทางด้านกฏหมาย อื่นๆ
4. บทความแนววิเคราะห์ เช่น บทความการวิเคราะห์การเงิน/หุ้น วิเคราะห์การเศรษรฐกิจ วิเคราะห์สังคม วิเคราะห์การเมือง อื่นๆ

อ่านถึงตรงนี้ เพื่อนๆคงได้รู้แล้วนะครับว่า โครงสร้างของบทความเป็นอย่างไร เริ่มต้นและจบลงแบบไหน และได้รู้ว่าบทความมีกี่ประเภท สิ่งที่นายอาชีพ อยากจะให้เพื่อนๆทำตอนนี้ก็คือ ให้เพื่อนๆเลือกว่าตนเองเหมาะกับการเขียนบทความรูปแบบใด เพราะความถนัดและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน การสร้างรายได้จากการเขียนบทความจึงต้องเริ่มต้นจากความถนัดและใจรักก่อนครับ

อ่านต่อ
"วิธีหารายได้เสริม กับแนวทางการขายบทความ บนอินเตอร์เน็ต (ภาค 2)

ผู้เขียน: นายอาชีพ
Photo by Charles J Danoff on flickr

Popular